อัลจินัว (ALGINURE) " ปุ๋ยชีวภาพ ตรึงไนโตรเจน อัลจินัว(ALGINURE) ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ดินดีอย่างยั่งยืน " ทะเบียนปุ๋ยชีวภาพ ชนิดเม็ด เลขที่ 1/2557 , ชนิดเหลว เลขที่ 2090001/2566 (กรมวิชาการเกษตร) อัลจินัว เหมาะสำหรับ :- ข้าว หรือ พืชที่ปลูกในดินที่ชื้นแฉะ ประโยชน์จากการใช้ อัลจินัว :- 1. เปลี่ยนไนโตรเจนจากอากาศ เป็นปุ๋ยไนโตรเจนในดิน ทดแทนการใช้ปุ๋ยยูเรีย 2. เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของราก ลำต้น การแตกยอด 3. เป็นอินทรีย์วัตถุในดิน ปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 4. รักษาความชื้นในดิน ฟื้นฟูระบบนิเวศ วิธีใช้ อัลจินัว :- นาข้าว : รองพื้นก่อนหว่าน หรือก่อนปักดำ อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พืชไร่ : รองพื้น อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับยกร่องปลูก พืชผัก : รองพื้น อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับยกร่องปลูก หรือก่อนหยอดเมล็ดพันธุ์/ต้นกล้า ไม้ผล : หว่านรอบทรงพุ่มอัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อตัน หลังการเก็บเกี่ยวหรือตัดแต่งกิ่ง ข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม :- • ควรรักษาระดับน้ำ หรือให้มีความชื้นอยู่เสมอ อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี • สามารถใช้ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้กับปุ๋ยยูเรีย • ในการทำเกษตรอินทรีย์สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไบโอฟอสก้า และปุ๋ยอินทรีย์ได้ • ควรใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อฤดูปลูก เพื่อรักษาปริมาณจุลินทรีย์ในดิน • ควรเก็บในที่แห้งและเย็น ไม่ถูกแสงแดดและความร้อน ปุ๋ยชีวภาพ จากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ดีอย่างไร? ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่นาส่วนใหญ่เป็นดินทราย และถูกทำลายจากการเผาฟาง เผาวัชพืช และการใช้สารเคมีไม่ถูกวิธี ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการทำลายระบบการสร้างธาตุไนโตรเจนในดิน ทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง และไม่มีคุณภาพ การใช้สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวกับดิน จะทำให้ระบบการสร้างธาตุไนโตรเจนในดิน กลับมาสมดุล ดินสมบูรณ์ ได้ผลผลิตมาก และมีคุณภาพ จากความสามามารถของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ในการตรึงไนโตรเจน โดยจะทำการตรีงไนโตเจนจากอากาศ ลงสู่ดิน พร้อมทั้งมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจากการทดลองนำปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในนาข้าว พบว่า :- • ช่วยเพิ่มผลผลิต 20-30 % จากข้าวมีการเพิ่มขนาด , เพิ่มจำนวนต้นต่อกอข้าว , เพิ่มจำนวนรวงต่อต้น และเพิ่มจำนวนเมล็ดเต็มต่อรวง • ช่วยให้เมล็ดข้าวมีคุณภาพดีขึ้น จากการที่มี ไลซีน (Lysine) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่ายกาย • ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 25-30 % จากการที่มีไนโตรเจนเพียงพอกับความต้องการของพืช • ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน โดยการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย จะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศ ให้เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต เป็นผลให้ปริมาณของอินทรีย์คาร์บอนในดินเพิ่มมากขึ้น และอย่างต่อเนื่อง • ให้ออกซิเจนแก่รากข้าวในสภาพน้ำขัง และยังช่วยป้องกันโรครากในสภาพไร้ออกซิเจน • ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช จากการปล่อยสารคล้ายฮอร์โมน และสารนี้ยังช่วยให้มีแข็งแรง และทนต่อโรคมากขึ้น • การใช้อย่างต่อเนื่องจะเป็นการช่วยฟื้นฟูสภาพดิน ช่วยให้ดินเกาะกันดี เหมาะต่อการเพาะปลูก ไม่ทำลายสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน การเจริญเติบโตของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในนาข้าว มีอยู่ 3 ลักษณะ :- 1. สาหร่ายที่เจริญในลักษณะที่ลอยอยู่บนผิวหน้าน้ำ - เป็นชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนเล็กๆ 2. สาหร่ายที่เจริญในลักษณะที่ลอยอยู่ในน้ำ - เป็นชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนที่ต่อกันเป็นสายสั้น 3. สาหร่ายที่เจริญในลักษณะที่เกาะบนพื้นผิวดิน หรือต้นพืช - เป็นชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนที่ต่อกันเป็นสายยาว ซึ่งในแต่ลักษณะการเจริญก็จะเป็นสาหร่ายต่างชนิดกัน มีองค์ประกอบของสารสีภายในเซลล์ต่างกัน การดูดแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงจึงแตกต่างกันด้วย ทำให้มีสารอาหารตลอดทุกช่วงการเจริญเติบโตของข้าว Facebook iconแชร์Twitter iconทวีตLINE iconส่งไลน์